วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

คอมพิวเตอร์ กับอาเซียน

คอมพิวเตอร์ กับอาเซียน

หลักสูตรอาเซียนศึกษาสำหรับเยาวชนอาเซียน
               

                    ในการสัมมนาที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  มาเลเซีย สัปดาห์ที่ผ่านมา  ได้มีการอบรม เตรียมความพร้อมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่ายของอาเซียน (ASEAN  University  Network : AUN )ในหัวข้อ การสร้างหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำหรับนักศึกษาที่จบปริญญาตรีแล้ว โดยนักศึกษาทั่วประเทศอาเซียนสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในวิชาที่เจาะลึกลงไปในประเด็นต่างๆเกี่ยวกับอาเซียน โดยสรุปแล้วหลักสูตรอาเซียนศึกษานั้น  ประกอบด้วยรายวิชา
  1. ประวัติศาสตร์อาเซียน
  2. แนวคิดเรื่องภูมิภาคนิยม
  3. โครงสร้างสถาบันของอาเซียน
  4. อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
  5. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศสมาชิกซึ่งมีความแตกต่างกัน
  6. ประเด็นสิ่งแวดล้อม
  7. การจัดการภัยพิบัติ
  8. ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการบูรณาการ
  9. การเชื่อมโยงระหว่างชนบท
  10. ธรรมาภิบาล
  11. สิทธิมนุษยชน
  12. สันติภาพและการจัดการความขัดแย้ง
  13. การค้ามนุษย์และแรงงานอพยพ
  14. วัฒนธรรมที่โดดเด่น
  15. อาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย
โดยรายวิชาต่างๆเหล่านี้ มหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียน สามารถเลือกไปใช้ในการสร้างหลักสูตรอาเซียนศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย ตามความถนัดและเชี่ยวชาญ ซึ่งคาดว่าหลักสูตรอาเซียนศึกษานี้จะสามารถเปิดสอนได้ในปี  2013

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (INTERNET)

                 สถานการณ์โลกในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทําให้ระบบสังคมโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุกส่วนของสังคมโลก ส่งผลให้ประชากรโลกเกิดการตื่นตัวและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสังคมชนบทมาเป็นสังคมเมือง อันนําไปสู่วิวัฒนาการของโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ เชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นระบบและเป็นสากล กระทั่งกล่าวกันว่าโลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดนหรือเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งหากพิจารณาจากเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดําเนินชีวิต เน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดํารงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ตลอดจนการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง

 

 

สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (INTERNET) ถือว่าเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี ไม่มีการปิดกั้น ทําให้มีการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารกันอย่างมากมายและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว มีการแลกเปลี่ยนสาระ ความรู้ผ่านระบบกระดานข่าวและกลุ่มสนทนา จนบางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อินเตอร์เน็ต เป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางด้านอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี โดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นแนวทางการดำเนินทางสายกลางจะมีส่วนส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างเหมาะสมได้ดังนี้คือ
¶ ความพอประมาณ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้อินเตอร์เน็ตโดยพิจารณาจากช่วงเวลา ความสอดคล้องกับความต้องการ สถานการณ์หรือโอกาสที่จะเลือกใช้ โดยใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมในปริมาณที่ไม่มากหรือน้อยเกินไปและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่นใช้เพื่อการทำงาน ค้นคว้าข้อมูลข่าวสารต่างๆ สำหรับเพิ่มพูนความรู้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินความจำเป็นจนทำให้เกิดผลกระทบกับหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านอื่นๆของตนเอง
¶ ความมีเหตุผล จะต้องมีกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงในการใช้อินเตอร์เน็ต และคำนึงถึงเหตุผลในการเลือกใช้หรือการเข้าถึงข้อมูล เช่น ใช้เพื่อการติดต่อธุรกิจการค้าที่มีระยะทางหรือระยะเวลาเป็นตัวกำหนดซึ่งหากเดินทางไปด้วยตนเองอาจไม่คุ้มหรือไม่ทันต่อการดำเนินการและต้องไม่ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือหรือช่องทางที่ไม่ถูกไม่ควร ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวม
¶ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมกับการรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ เช่น การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาจมีปัญหา อุปกรณ์ต่างๆ อาจชำรุดเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ ตามปกติ เราควรมีการเตรียมตัววางแผนรับมือไว้ให้พร้อม ซึ่งอาจจะเปลี่ยนมาใช้การเดินทางด้วยตัวเอง การใช้โทรศัพท์ การส่งจดหมาย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อตนเองและส่วนรวม นอกจากนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังมีเงื่อนไขในด้านความรู้และคุณธรรม ซึ่งการที่เราจะนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางด้านอินเตอร์เน็ตมาใช้ต้องประกอบด้วยความรอบคอบระมัดระวัง มุ่งให้ประโยชน์แท้จริงต่อตนเองตลอดจนสังคมส่วนรวมและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และพอเหมาะต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

twitter




Twitter bird logo 2012.png


ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (tweet - เสียงนกร้อง) ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นโดย แจ็ก คอร์ซีย์ ,บิซ สโตน และ อีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัท Obvious Corp ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006
ข้อความอัปเดตที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์, อีเมล, เอสเอ็มเอส, เมสเซนเจอร์ (IM), RSS, หรือผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง Twitterific Twhirl ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร

ตัวอย่างหน้าเพจ twitter

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบ

เด็กหญิง ธนิดา ธวัชอุดมธาดา ชั้น ม.2/11  เลขที่ 8